กิจกรรม(Activity)
1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
1. ขั้นกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งได้มาจาก ผู้เรียน สังคม เนื้อหา เช่น ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลสังคม ข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตของผู้สอน การสัมภาษณ์ผู้เรียน ผู้ปกครอง ข้อมูลจาก แบบสอบถามและทดสอบของผู้เรียน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ได้นำไป กำหนดจุดประสงค์ประสงค์ จากนั้น ต้องนำข้อมูลทางสังคมและข้อมูลจากท้องถิ่นชุมชนมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดความจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนด้วย
2. ขั้นการกลั่นกรอง
มีความจำเป็นที่ต้องใช้พื้นฐานทางด้านปรัชญา และจิตวิทยามาร่วมด้วย ในด้านปรัชญานั้น ผู้สอนควรนำทั้งปรัชญาทางสังคมและปรัชญาทางการศึกษา มาพิจารณาด้วย ซึ่งควรคำนึงถึงพื้นฐานความเป็นมนุษย์ในแต่ละคน ไม่มีข้อจำกัดทางเชื้อชาติ สัญชาติ หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม การมีโอกาสในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของสังคม การให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งการตอบความต้องการส่วนบุคล ปัญหาสำคัญต่างๆ ขึ้นอยู่กับความเชื่อ และสติปัญญา มากกว่าขึ้นกับอำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ ส่วนพื้นฐานทางจิตวิทยา ซึ่งไทเลอร์ใช้ในการกำหนดกำหนดกรอบโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้อีกด้วย ซึ่งความรู้ทางจิตวิทยานี้สามารถช่วยให้เรามีความคิดเห็นที่แตกต่างในจุดหมายที่เป็นไปได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน อีกทั้งยังช่วยให้ความคิดบางอย่างบรรลุผลตามจุดประสงค์ในระยะเวลาที่มีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุ
3. ขั้นเลือกประสบการการเรียนรู้
หลังจากมีการกำหนดวัตถุประสงค์ การกลั่นกรองข้อมูลแล้ว ไทเลอร์ได้ให้คำแนะนำการ เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นการบูรณาการประสบการณ์ที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในด้านต่างๆ เช่น ด้านการคิด ความสนใจ สังคม เป็นต้น
4. ขั้นการประเมินผล
เป็นขั้นประเมินว่าในประสบการณ์จัดการเรียนรู้นั้น บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่
1. ขั้นกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งได้มาจาก ผู้เรียน สังคม เนื้อหา เช่น ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลสังคม ข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตของผู้สอน การสัมภาษณ์ผู้เรียน ผู้ปกครอง ข้อมูลจาก แบบสอบถามและทดสอบของผู้เรียน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ได้นำไป กำหนดจุดประสงค์ประสงค์ จากนั้น ต้องนำข้อมูลทางสังคมและข้อมูลจากท้องถิ่นชุมชนมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดความจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนด้วย
2. ขั้นการกลั่นกรอง
มีความจำเป็นที่ต้องใช้พื้นฐานทางด้านปรัชญา และจิตวิทยามาร่วมด้วย ในด้านปรัชญานั้น ผู้สอนควรนำทั้งปรัชญาทางสังคมและปรัชญาทางการศึกษา มาพิจารณาด้วย ซึ่งควรคำนึงถึงพื้นฐานความเป็นมนุษย์ในแต่ละคน ไม่มีข้อจำกัดทางเชื้อชาติ สัญชาติ หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม การมีโอกาสในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของสังคม การให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งการตอบความต้องการส่วนบุคล ปัญหาสำคัญต่างๆ ขึ้นอยู่กับความเชื่อ และสติปัญญา มากกว่าขึ้นกับอำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ ส่วนพื้นฐานทางจิตวิทยา ซึ่งไทเลอร์ใช้ในการกำหนดกำหนดกรอบโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้อีกด้วย ซึ่งความรู้ทางจิตวิทยานี้สามารถช่วยให้เรามีความคิดเห็นที่แตกต่างในจุดหมายที่เป็นไปได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน อีกทั้งยังช่วยให้ความคิดบางอย่างบรรลุผลตามจุดประสงค์ในระยะเวลาที่มีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุ
3. ขั้นเลือกประสบการการเรียนรู้
หลังจากมีการกำหนดวัตถุประสงค์ การกลั่นกรองข้อมูลแล้ว ไทเลอร์ได้ให้คำแนะนำการ เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นการบูรณาการประสบการณ์ที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในด้านต่างๆ เช่น ด้านการคิด ความสนใจ สังคม เป็นต้น
4. ขั้นการประเมินผล
เป็นขั้นประเมินว่าในประสบการณ์จัดการเรียนรู้นั้น บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
มีอยู่ 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น เป็นการวิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้เรียน สภาพปัญหาต่างๆ กระบวนการในการเรียนรู้ เป็นต้น
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ เมื่อเราได้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆแล้ว เราก็นำมาเป็นแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์
3. การเลือกเนื้อหาสาระ ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อีกทั้ง คำนึงถึงผู้เรียนด้วย
4. การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ เมื่อมีการคัดเลือกเนื้อหาสาระแล้ว ก็นำมาจัดลำดับให้เป็นระบบ
5. การเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และคำนึงถึงถึงความเหมาะสม
6. การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นการจัดลำดับ ขั้นตอนอย่างเป็นระบบ
7. การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน ทำให้เราทราบว่าเนื้อหารายวิชามีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน การพัฒนาหลักสูตรมีประสิทธิภาพมากเพียงใด
มีอยู่ 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น เป็นการวิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้เรียน สภาพปัญหาต่างๆ กระบวนการในการเรียนรู้ เป็นต้น
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ เมื่อเราได้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆแล้ว เราก็นำมาเป็นแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์
3. การเลือกเนื้อหาสาระ ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อีกทั้ง คำนึงถึงผู้เรียนด้วย
4. การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ เมื่อมีการคัดเลือกเนื้อหาสาระแล้ว ก็นำมาจัดลำดับให้เป็นระบบ
5. การเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และคำนึงถึงถึงความเหมาะสม
6. การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นการจัดลำดับ ขั้นตอนอย่างเป็นระบบ
7. การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน ทำให้เราทราบว่าเนื้อหารายวิชามีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน การพัฒนาหลักสูตรมีประสิทธิภาพมากเพียงใด
แผนการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ ศาสนากับสังคม
มัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
เวลา 1ชั่วโมง
สาระ/สำคัญความคิดรวบยอด
การเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในแต่ละศาสนา
เพื่อให้รู้และเข้าใจหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
อันนำมาสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนรู้และเข้าใจหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
2. นักเรียนสามารถบอกได้ว่าการปฏิบัติตนตามสถานการณ์ต่างๆเหมาะสม/ไม่เหมาะสมกับหลักการปฏิบัติตนทางศาสนา
3. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
สาระการเรียนรู้
หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการคิด
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
- กระบวนการปฏิบัติ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงานชิ้นงาน
ภาระงาน : อภิปรายกลุ่ม
เรื่องความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
การวัดและประเมินผล
ประเด็นการประเมิน
|
วิธีการวัด
|
เครื่องมือที่ใช้วัด
|
เกณฑ์การประเมิน
|
1. นักเรียนรู้และเข้าใจหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
|
ทำแบบทดสอบ
|
แบบทดสอบ
|
นักเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆที่ถูกต้องและเหมาะสม
|
2. นักเรียนสามารถบอกได้ว่าการปฏิบัติตนตามสถานการณ์ต่างๆเหมาะสม/ไม่เหมาะสมกับหลักการปฏิบัติตนทางศาสนา
|
กิจกรรม
|
สถานการณ์สมมติ
|
นักเรียนบอกได้ว่าการปฏิบัติตนตามสถานการณ์ต่างๆเหมาะสม/ไม่เหมาะสมกับหลักการปฏิบัติตนทางศาสนา
|
3. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
|
อภิปรายกลุ่ม
|
แบบประเมินกิจกรรมกลุ่ม
|
นักเรียนวิเคราะห์ความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆได้
|
4. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านความมีวินัย
ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน
|
สังเกตพฤติกรรม
|
แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน
|
นักเรียนร้อยละ80 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์คือ
มีระเบียบวินัยในตนเอง ทำงานส่งตรงเวลา มีความใฝ่เรียนรู้ในการเรียน
และมุ่งมั่นทำงานที่ได้รับมอบหมาย
|
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ครูทักทายนักเรียน
2. ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการนำบัตรภาพ
เรื่อง ความแตกต่างของแต่ละศาสนา
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เห็นถึงความแตกต่างของแต่ละศาสนา
ขั้นสอน
1. ครูสอบถามผู้เรียนเกี่ยวกับหลักปฎิบัติตนในศาสนาต่างๆที่นักเรียนรู้
2. ให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆที่นักเรียนต้องการรู้
3. ครูบรรยายเรื่องเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
โดยใช้ ป้ายนิเทศเรื่อง หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
4. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5-6 คน ครูถามคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามสถานการณ์ต่างๆว่าเหมาะสม/ไม่เหมาะสม อย่างไร
5. ถ้านักเรียนกลุ่มใดต้องการตอบคำถามในข้อนี้ให้ยกป้ายเลขกลุ่ม
หากตอบถูกจะได้รับคะแนน 1 คะแนน หากตอบผิด
จะหมดสิทธิ์ตอบในข้อนั้น
6. เมื่อครูถามคำถามหมดทุกคำถาม
ให้แต่ละกลุ่มรวมคะแนน กลุ่มใดได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้ชนะ
และได้รับรางวัลจากครูผู้สอน
7. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์ความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
8. ครูสรุปความจำเป็นในการเรียนรู้หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
9. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบ
เรื่อง หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
10. ครูและนักเรียนช่วยกันตรวจแบบทดสอบเรื่อง
หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
ขั้นสรุป
11. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปหลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
12. ครูให้นักเรียนซักถามข้อสงสัย
สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
1. บัตรภาพ เรื่อง
ความแตกต่างของแต่ละศาสนา
2. ป้ายนิเทศเรื่อง
หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
3. แบบทดสอบเรื่อง
หลักการปฏิบัติตนในศาสนาต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น